กองพัฒนาระบบการประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อม

Division of Environmental Impact Assessment Development

Size

ระบบ EIA ของประเทศไทย

นิยาม EIA

การประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อม” หมายความว่า กระบวนการศึกษาและประเมินผลที่อาจเกิดขึ้นจากการดำเนินโครงการหรือกิจการหรือการดำเนินการใดของรัฐหรือที่รัฐจะอนุญาตให้มีการดำเนินการที่อาจมีผลกระทบต่อทรัพยากรธรรมชาติ คุณภาพสิ่งแวดล้อม สุขภาพ อนามัย คุณภาพชีวิต หรือส่วนได้เสียอื่นใดของประชาชนหรือชุมชน ทั้งทางตรงและทางอ้อม โดยผ่านกระบวนการการมีส่วนร่วมของประชาชน เพื่อกำหนดมาตรการป้องกันแก้ไขผลกระทบดังกล่าว ผลการศึกษาเรียกว่า รายงานการประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อม

เปลี่ยนชื่อ

จาก “การวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อม” เป็น “การประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อม

ความเป็นมา

ระบบการประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อมถูกนำมาใช้เป็นเครื่องมือในการป้องกันและแก้ไขผลกระทบสิ่งแวดล้อมที่อาจเกิดขึ้นจากการพัฒนาโครงการตามกฎหมาย ตั้งแต่ พ.ศ.2518
 

พ.ร.บ.ส่งเสริมและรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ พ.ศ.2518

 

พ.ร.บ.ส่งเสริมและรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ พ.ศ.2535

 

พ.ร.บ.ส่งเสริมและรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ (ฉบับที่ 2) พ.ศ.2561

กระบวนการประเมิน
ผลกระทบสิ่งแวดล้อม

ตาม พ.ร.บ.ส่งเสริมและรักษา
คุณภาพสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ (ฉบับที่ 2) พ.ศ.2561
การชี้ว่าโครงการใดต้องทำการประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อม
  • ทส โดยความเห็นชอบของ กก.วล. ประกาศ กำหนดประเภทและขนาดของโครงการซึ่งต้องจัดทำรายงาน IEE/EIA/EHIA
  • สผ.เสนอ กก.วล. เพื่อทบทวนประกาศทุก 5 ปี
  • มติ ครม. เกี่ยวกับป่าอนุรักษ์เพิ่มเติม
ประเภทของรายงานการประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อม

IEE

Initial Environmental Examination
รายงานผลกระทบสิ่งแวดล้อมเบื้องต้น
ขนาดเล็ก อยู่ในพื้นที่อ่อนไหว อาจมีผลกระทบ

EIA

Environmental Impact Assessment
รายงานการประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อม
มีผลกระทบสิ่งแวดล้อมพื้นที่ทั่วไป

EHIA

Environmental and Health Impact Assessment
รายงานการประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อม สำหรับโครงการหรือกิจการหรือการดำเนินการที่อาจมีผลกระทบต่อทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม สุขภาพ อนามัย คุณภาพชีวิต ของประชาชนในชุมชนอย่างรุนแรง
ขนาดใหญ่ ผลกระทบรุนแรง เป็นวงกว้าง
กำหนดพื้นที่/ประเด็น/หัวข้อ/กลุ่มผู้มีส่วนได้เสีย
  • หลักเกณฑ์ วิธีการและเงื่อนไข ตามประกาศ ทส.
  • ประเด็นจากรับฟังความคิดเห็นของประชาชน
  • แนวทางของ สผ.
  • องค์ประกอบสิ่งแวดล้อม 4 ด้าน
    • กายภาพ
    • ชีวภาพ
    • คุณค่าการใช้ประโยชน์ของมนุษย์
    • คุณค่าต่อคุณภาพชีวิต
4 Tiers System
กายภาพ
  • ทรัพยากรดิน
  • ทรัพยากรน้ำ
  • ภูมิประเทศ
  • ธรณีวิทยา
  • อากาศ
  • เสียง
  • ความสั่นสะเทือน
คุณค่าต่อคุณภาพชีวิต
  • เศรษฐกิจ
  • สังคม
  • สาธารณสุข
  • สุขภาพ
  • อาชีวอนามัยและความปลอดภัย
  • สุนทรียภาพ/ทัศนียภาพ
  • แหล่งท่องเที่ยว
  • ศาสนสถาน
  • สิ่งที่มีคุณค่าทางประวัติศาสตร์
ชีวภาพ
  • ทรัพยากรชีวภาพทางบก
  • ทรัพยากรชีวภาพทางน้ำ
  • ป่าไม้
  • พืช
  • สัตว์
คุณค่าการใช้ประโยชน์ของมนุษย์
  • การใช้ประโยชน์ที่ดิน
  • เกษตรกรรม
  • อุตสาหกรรม
  • การคมนาคม
  • การใช้น้ำ
  • การป้องกันน้ำท่วม
  • การใช้ไฟฟ้า
  • การจัดการมูลฝอยและสิ่งปฏิกูล
การประเมินผลกระทบและการจัดทำรายงาน
  • ประเมินผลกระทบตามประเด็น/หัวข้อที่ได้กำหนดไว้ในการกำหนดขอบเขตการศึกษา
  • รูปแบบของรายงาน เป็นไปตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไข ที่กำหนดไว้ในประกาศ ทส.
  • ผู้มีสิทธิจัดทำรายงานจะต้องได้รับใบอนุญาตจาก สผ.
  • การมีส่วนร่วมของประชาชน
ตรวจสอบความถูกต้องครบถ้วนตามหลักวิชาการ
  • กก.วล. / คชก.
  • กก.วล. กำหนดหลักเกณฑ์และวิธีการในการแต่งตั้ง คชก.
    • คชก.ส่วนกลาง
    • คชก.จังหวัด
  • คชก.แต่ละคณะ ประกอบด้วยผู้ทรงคุณวุฒิในสาขาที่เกี่ยวข้อง
  • ขั้นตอนและระยะเวลาในการพิจารณารายงาน เป็นไปตามที่กำหนดใน พ.ร.บ.ฯ
  • มติ คชก. เป็นคำสั่งทางปกครอง
หน่วยงานอนุมัติ/อนุญาต นำ IEE/EIA/EHIA ไปประกอบการพิจารณาอนุมัติ/อนุญาตโครงการ
  • นำมาตรการที่กำหนดในรายงาน ไปกำหนดเป็นเงื่อนไขในการสั่งอนุญาต
ติดตามผลการปฏิบัติตามมาตรการของโครงการ /ติดตามประเมินผลเพื่อพัฒนาระบบ EIA
  • โครงการมีหน้าที่ปฏิบัติตามมาตรการ และส่งรายงาน monitor
  • หากไม่ส่งรายงาน monitor มีโทษปรับ
  • หน่วยงานอนุญาตมีอำนาจหน้าที่กำกับโครงการ
  • สผ.ทำหน้าที่ติดตามและเสนอรายงานผลการติดตาม ต่อ กก.วล. ปีละครั้ง
กองพัฒนาระบบการประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อม
สํานักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
ที่ตั้ง(ชั่วคราว) : 118/1 ชั้น 12 อาคารทิปโก้ 2 ถนนพระรามที่ 6
แขวงพญาไท เขตพญาไท กรุงเทพฯ 10400
โทรศัพท์ : 02 265 6674
โทรสาร : 02 265 6629
อีเมล : eiadev.sarabun@onep.go.th
Copyright © 2022 สํานักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม | All rights reserved.
พบปัญหาในการใช้งานระบบกรุณาติดต่อ กลุ่มงานวิชาการและฐานข้อมูล
This site is optimized for IE 9+, FireFox 22+ or Google Chrome 28+ and above, the screen size of 1366x768 pixel

23